Futures

คู่มือสำหรับมือใหม่ Bitget — ศัพท์การเทรด Futures ที่สำคัญและสถานการณ์ในการนำไปใช้งาน

2024-05-11 08:47085

คู่มือสำหรับมือใหม่ Bitget — ศัพท์การเทรด Futures ที่สำคัญและสถานการณ์ในการนำไปใช้งาน image 0

ภาพรวม

● ในการเทรด Futures นั้นจะมีชุดคำศัพท์ที่ซับซ้อนกว่าเมื่อเทียบกับการเทรด Spot การทำความเข้าใจคำศัพท์เหล่านี้และลักษณะในการนำไปใช้งานสามารถช่วยให้เราคุ้นเคยกับการเทรด Futures มากขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

● ศัพท์ทั่วไปและศัพท์สำคัญจะแสดงพร้อมตัวอย่างในตอนท้ายของบางหัวข้อหรืออธิบายผ่านลิงก์ไปยังบทความอื่นๆ เพื่ออธิบายความหมายของคำศัพท์เหล่านี้อย่างละเอียดและวิธีการใช้ในการตัดสินใจเทรด

● บทความนี้ใช้ Bitget Futures เป็นตัวอย่าง ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ก่อนเปิด Position, เมื่อถือ Position และเมื่อปิด Position นอกจากนี้ยังครอบคลุมคำศัพท์สำคัญอื่นๆ เพื่อช่วยให้มือใหม่เข้าใจคำศัพท์และลักษณะการใช้งานที่ใช้ตลอดกระบวนการเทรดทั้งหมด

คำศัพท์สำคัญในการเทรด Futures

ศัพท์สำคัญ

ความหมาย

สถานการณ์

เปิด Long หรือ Short (Going Long or Short)

การเปิด Long (Going Long) คือการกระทำที่ผู้ใช้อาจทำเมื่อคาดว่าราคาจะขึ้นและซื้อ Futures ด้วยจุดประสงค์ที่จะขายในราคาที่สูงขึ้นในภายหลังเพื่อทำกำไร ในหน้าการเทรด Bitget Futures ให้เลือก “เปิด Long / Open long” เพื่อเริ่มต้น Long Position ในทางกลับกัน การเปิด Short (Going Short) คือเมื่อผู้ใช้คาดการณ์ว่าราคาจะลงและขาย Futures โดยมีความตั้งใจที่จะซื้อคืนในราคาที่ต่ำกว่าเพื่อหากำไร ในหน้าการเทรด Bitget Futures ให้เลือก “เปิด Short / Open short” เพื่อเริ่มต้น Short Position

ก่อนเปิด Position

เลเวอเรจ (Leverage)

การเลือกเลเวอเรจที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะเป็นดาบ 2 คมที่ช่วยขยายผลกำไร แต่ก็เพิ่มโอกาสในการขาดทุนด้วย เลเวอเรจยิ่งสูง ความเสี่ยงที่จะเกิด Liquidation (การบังคับขาย) ก็ยิ่งมาก นักเทรดควรเลือกเลเวอเรจที่เหมาะกับตัวเองที่สุด เช่น นักเทรดแบบเสี่ยงต่ำหรือมือใหม่อาจเลือกใช้เลเวอเรจที่ต่ำกว่า เช่น 5x หรือ 2x การตัดสินใจเลือกระดับเลเวอเรจควรพิจารณาจากระดับความเข้าใจที่ตัวนักเทรดเองมีต่อตลาดคริปโทเคอร์เรนซี ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และระดับความสบายใจ

ก่อนเปิด Position

Margin/Margin ที่ใช้เปิด (Opening Margin)/Maintenance Margin

Margin หรือที่รู้จักกันในชื่อ Insurance Fund ใช้เพื่อให้ครอบคลุมการขาดแคลนหลักประกัน ซึ่งจะช่วยลดโอกาสที่จะเกิด Deleveraging โดยอัตโนมัติบนแพลตฟอร์มได้ Margin = มูลค่า Position ÷ เลเวอเรจ

Margin ที่ใช้เปิด (Opening Margin) หมายถึง Margin ในบัญชีที่จำเป็นในการเปิด Position สำหรับการเทรด Futures

Maintenance Margin คือ Margin ขั้นต่ำที่จำเป็นในการถือ Position ต่อไป ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามเพดานความเสี่ยง (Risk Limit) ของผู้ใช้

ก่อนเปิดหรือเมื่อถือ Position

มูลค่า Position (Position Value)

หมายถึงมูลค่าปัจจุบันของ Position ที่ถืออยู่ ซึ่งเปลี่ยนแปลงได้แบบเรียลไทม์ตามราคาสุดท้าย โปรดทราบว่าการคำนวณมูลค่า Position จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของ Futures

เมื่อถือ Position

Funding Rate/นับถอยหลัง (Countdown)

Funding Rate ใช้เพื่อคำนวณค่าธรรมเนียม Funding ที่มีการแลกเปลี่ยนกันโดยตรงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยคำนวณทุก 8 ชั่วโมง ณ เวลา 23:00 น., 7:00 น. และ 15:00 น. (เวลาไทย) การนับถอยหลัง (Countdown) จะแสดงเวลาที่เหลืออยู่จนกว่าจะมีการปรับ Funding Rate ครั้งถัดไป

เมื่อใดก็ได้

ราคา Mark (Mark Price)/ราคาดัชนี (Index Price)/ราคาสุดท้าย (Last Price)

ราคา Mark (Mark Price) คิดตามราคาดัชนีและ Funding Rate ที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงราคายุติธรรมปัจจุบันของ Futures ราคา Mark จะใช้ในการคำนวณ Unrealized PNL ของ Position และทริกเกอร์ Liquidation (การบังคับขาย) ด้วยเช่นกัน

ราคาดัชนี (Index Price) คือผลรวมของราคาจากแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยน Spot ที่ต่างๆ คูณด้วยน้ำหนักตามที่กำหนดไว้สำหรับแพลตฟอร์มนั้นๆ

ราคาสุดท้าย (Last Price) หมายถึงราคาดำเนินการล่าสุดของ Futures

ก่อนเปิดหรือเมื่อถือ Position

Isolated Margin/Cross Margin

Isolated Margin ทำให้ผู้ใช้สามารถถือ Position ได้ทั้ง 2 ทิศทาง โดยมีความเสี่ยงที่คำนวณแยกต่างหากจากกันสำหรับ Long และ Short Position ระบบจะจัดสรร Margin ในจำนวนที่กำหนดไปให้กับแต่ละ Position หาก Margin ลงไปต่ำกว่าระดับ Maintenance Margin จะทำให้ Position ถูก Liquidate (บังคับขาย) และการขาดทุนสูงสุดที่เกิดขึ้นจะถูกจำกัดอยู่ที่จำนวน Margin ที่ได้จัดสรรให้กับ Position นั้นๆ คุณสามารถเพิ่มและลบ Margin สำหรับ Position ที่ต้องการได้ในโหมด Isolated Margin

ในโหมด Cross Margin นั้น ทุก Position ภายใต้สินทรัพย์ที่ใช้ Margin เดียวกันจะมียอดคงเหลือ Margin เท่ากัน ในกรณีที่เกิด Liquidation (การบังคับขาย) ผู้ใช้อาจเสี่ยงต่อการสูญเสียยอดคงเหลือ Margin ทั้งหมดพร้อมกับ Position ใดๆ ภายใต้สินทรัพย์ที่ใช้ Margin ดังกล่าว กล่าวอีกนัยหนึ่งคือยอดคงเหลือที่ใช้ได้ทั้งหมดในบัญชีสามารถใช้เป็น Margin เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิด Liquidation (การบังคับขาย) กับ Position ได้

ก่อนเปิด Position

Limit Order/Market Order

Limit Order หมายถึง Order ที่มีการวางไว้ใน Order Book โดยมีขีดจำกัดราคาตามกำหนดซึ่งตั้งไว้โดยผู้ใช้ จะมีการดำเนินการ Order ก็ต่อเมื่อราคาตลาดมาถึงหรือสูงกว่าราคา Bid/Ask ณ ขณะนั้นเท่านั้น Limit Order ช่วยให้ผู้ใช้ซื้อได้ในราคาต่ำกว่าหรือขายได้ในราคาสูงกว่าราคาตลาด ณ ขณะนั้น ซึ่งจะต่างจาก Market Order ที่ดำเนินการทันที ณ ราคาตลาด ณ ขณะนั้น โดยจะมีการวาง Limit Order ไว้ใน Order Book และจะถูกทริกเกอร์เมื่อราคามาถึงแล้วเท่านั้น

Market Order เป็นการวาง Order ในราคาที่น่าจะได้รับการดำเนินการมากที่สุด หาก Order ไม่ได้รับการดำเนินการหรือได้รับการดำเนินการไม่เต็มจำนวน ระบบก็จะยังคงวาง Order ต่อไปในราคาล่าสุดที่น่าจะได้รับการดำเนินการมากที่สุด

ก่อนเปิด Position

Take Profit/Stop Loss

Take Profit (TP) Order จะเป็นการปิด Position เมื่อมีผลกำไร ในขณะที่ Stop Loss (SL) Order จะเป็นการจำกัดการขาดทุนใน Position ปัจจุบัน ทั้ง Take Profit และ Stop Loss Order สามารถวางได้อย่างง่ายดายผ่านฟังก์ชัน TP/SL

ก่อนเปิดหรือเมื่อถือ Position

Realized PNL/Unrealized PNL

Realized PNL หมายถึงผลกำไรขาดทุนของ Position ที่ปิดไป ซึ่งรวมค่าธรรมเนียมธุรกรรมด้วย Unrealized PNL จะขึ้นอยู่กับผลกำไรขาดทุนโดยประมาณของ Position ในราคาตลาด ณ ขณะนั้น แต่ไม่รวมค่าธรรมเนียมธุรกรรมและค่าธรรมเนียม Funding

เมื่อถือ Position

ปิด Position (Close Position)/Liquidation (การบังคับขาย)

การปิด Position เกี่ยวข้องกับการซื้อหรือขาย Futures ในประเภท ปริมาณ และเดือนที่ส่งมอบเดียวกันในทิศทางตรงกันข้ามกับ Futures ที่ถืออยู่ การทำเช่นนี้ก็เพื่อชำระราคารายการเทรด Futures อีกทั้งยังเข้าใจได้ว่าเป็นการปิด Position ผ่านการป้องกันความเสี่ยง (Hedging) ในทิศทางตรงกันข้าม การปิด Position ในการเทรด Futures ก็เหมือนกับการขาย Position ในการเทรด Spot

Liquidation ( การบังคับขาย) หมายถึงเมื่อ Margin ของ Position ลงไปต่ำกว่า Maintenance Margin ซึ่งส่งผลให้สูญเสียหลักประกัน Margin ทั้งหมดไปโดยสิ้นเชิง โดยระบบจะทริกเกอร์เมื่อราคา Mark มาถึงราคา Liquidation ของ Position

เมื่อถือ Position หรือเมื่อปิด Position

ก่อนเปิด Position

ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น มีการเทรด Futures หลายประเภท โดยหลักๆ คือ USDT-M/USDC-M Futures และ Coin-M Perpetual/Delivery Futures ความแตกต่างระหว่างทั้ง 2 ประเภทนี้อยู่ที่หน่วยราคา ระยะเวลาถือครอง และมูลค่าสัญญา แม้ว่าคำต่างๆ มักใช้ใน Futures ทั้ง 2 ประเภท แต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่เล็กน้อย บทความนี้จะเน้นไปที่ Bitget USDT-M/USDC-M Perpetual Futures เพื่อช่วยมือใหม่ในการเทรด Futures

คู่มือสำหรับมือใหม่ Bitget — ศัพท์การเทรด Futures ที่สำคัญและสถานการณ์ในการนำไปใช้งาน image 1

ลำดับอภิธานศัพท์: จากบนลงล่าง ซ้ายไปขวา

USDT-M/USDC-M (Perpetual) Futures: USDT-M /USDC-M Futures หรือที่รู้จักกันในชื่อ Forward Futures เป็น Perpetual ที่อิง Fiat Stablecoin (USDT หรือ USDC) ใน USDT-M/USDC-M Futures มูลค่าของสัญญาจะคำนวณเป็น USD โดย Futures เหล่านี้ช่วยให้นักลงทุนสามารถประเมินมูลค่าและความเสี่ยงของสัญญาได้ง่ายขึ้น นักลงทุนสามารถเทรดคริปโทเคอร์เรนซีได้โดยตรงกับ Stablecoin เช่น USDT และ USDC โดยไม่ต้องซื้อ Bitcoin หรือคริปโทเคอร์เรนซีอื่นๆ แบบจริงๆ ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่ราคาจะลดลงในเหรียญเหล่านี้ได้ USDT-M/USDC-M Futures เหมาะอย่างยิ่งสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มเทรด Futures

ลองดู BTCUSDT Perpetual Futures เป็นตัวอย่าง หากผู้ใช้ถือ 1 BTCUSDT และราคา BTC ปรับตัวขึ้น $1,000 ผู้ใช้จะทำกำไรได้ $1,000 แต่หากปรับตัวลง $1,000 ก็จะขาดทุน $1,000 สำหรับ USDT-M/USDC-M Futures นั้นจะชำระราคาเป็น USDT หรือ USDC เสมอ รวมถึงคำนวณ Margin และ PNL ทั้งหมดเป็น USDT หรือ USDC เช่นกัน

ราคา Mark (Mark Price): ราคา Mark คิดตามราคาดัชนีและ Funding Rate ที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงราคายุติธรรมปัจจุบันของ Futures ราคา Mark จะใช้ในการคำนวณ Unrealized PNL ของ Position และทริกเกอร์ Liquidation (การบังคับขาย) ด้วยเช่นกัน

ราคาดัชนี (Index Price): ผลรวมของราคาจากแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยน Spot ที่ต่างๆ คูณด้วยน้ำหนักตามที่กำหนดไว้สำหรับแพลตฟอร์มนั้นๆ

ราคาสุดท้าย (Last Price): ตามชื่อบอกคือเป็นราคาสุดท้ายที่ดำเนินการของคู่เทรด Futures

ราคาทั้ง 3 แบบมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน ราคาดัชนีไม่จำเป็นต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่ใช้เพื่อสร้างสมดุลให้กับราคา Futures ในแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนต่างๆ กระบวนการถัวเฉลี่ยนี้ช่วยลดความแตกต่างในราคา Futures ระหว่างแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนต่างๆ ลง ในทางตรงกันข้าม ราคาสุดท้ายและราคา Mark มีบทบาทที่แตกต่างกันอยู่มาก เช่น หากราคา Mark แสดงถึงราคาน้ำมันเบนซินโดยเฉลี่ยทั่วโลก ราคาสุดท้ายจะเป็นราคาต่อแกลลอนที่ปั๊มน้ำมันแห่งใดแห่งหนึ่งใกล้บ้านคุณ

เนื่องจากอุปสงค์และอุปทานมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอในการเทรด Futures จึงมักจะส่งผลให้เกิดความแตกต่างระหว่างราคา Futures กับราคาของสินทรัพย์อ้างอิง ซึ่งต่างไปจากการเทรด Spot ที่จะมีเพียงราคาเดียวเท่านั้น สำหรับผู้ใช้ โดยทั่วไปแล้วราคา Mark จะไม่ใช้ในการเทรด แต่จะทำหน้าที่เป็นตัวบ่งชี้ในการติดตามความเสี่ยงของ Position ในขณะที่ราคาสุดท้ายนั้นทำหน้าที่เป็นราคาตลาดปกติในการเทรด

อย่างไรก็ตาม ราคา Mark นั้นเป็นมูลค่ายุติธรรมโดยประมาณของ Futures ซึ่งจะพิจารณามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ประกอบด้วย เพื่อป้องกันการเกิด Liquidation (การบังคับขาย) โดยไม่จำเป็นในช่วงที่ตลาดผันผวน ราคา Mark ทำหน้าที่ใน 2 ส่วนคือ Liquidation (การบังคับขาย) และการคำนวณ Unrealized PNL

สำหรับ Bitget Futures จะใช้ราคา Mark เป็นเงื่อนไขในการทริกเกอร์ Liquidation (การบังคับขาย) ในทางปฏิบัติ หากราคา Spot ของสินทรัพย์วิ่งมาไม่ถึงระดับ Liquidation (การบังคับขาย) ราคา Mark ก็จะปกป้องผู้ใช้จาก Liquidation (การบังคับขาย) ที่ไม่เป็นธรรมซึ่งเกิดจากความผันผวนในระยะสั้นของราคาสุดท้ายได้

นอกจากนี้ เนื่องจากอาจเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ใช้ในการที่จะทราบกำไรที่รับรู้จริงก่อนที่จะปิด Position ของตน ราคา Mark จึงใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการคำนวณ Unrealized PNL ซึ่งจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าจะมีการคำนวณ Unrealized PNL อย่างถูกต้อง จึงหลีกเลี่ยงการเกิด Liquidation (การบังคับขาย) โดยไม่จำเป็นได้

Liquidation (การบังคับขาย): Liquidation หมายถึงเมื่อ Margin ของ Position ลงไปต่ำกว่า Maintenance Margin ซึ่งส่งผลให้สูญเสียหลักประกัน Margin ทั้งหมดไปโดยสิ้นเชิง โดยระบบจะทริกเกอร์เมื่อราคา Mark มาถึงราคา Liquidation ของ Position

Unrealized PNL: ผลกำไรขาดทุนโดยประมาณของ Position ตามราคาตลาด ณ ขณะนั้น แต่ไม่รวมค่าธรรมเนียมธุรกรรมและค่าธรรมเนียม Funding

Funding Rate/นับถอยหลัง (Countdown): Funding Rate ใช้เพื่อคำนวณค่าธรรมเนียม Funding ที่มีการแลกเปลี่ยนกันโดยตรงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยคำนวณทุก 8 ชั่วโมง ณ เวลา 23:00 น., 7:00 น. และ 15:00 น. (เวลาไทย) การนับถอยหลัง (Countdown) จะแสดงเวลาที่เหลืออยู่จนกว่าจะมีการปรับ Funding Rate ครั้งถัดไป

คู่มือสำหรับมือใหม่ Bitget — ศัพท์การเทรด Futures ที่สำคัญและสถานการณ์ในการนำไปใช้งาน image 2

ลำดับอภิธานศัพท์: จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง

Order Book: แสดงราคาและปริมาณแบบเรียลไทม์สำหรับ Order ที่เปิดอยู่ของผู้ใช้ โปรดทราบว่านี่ไม่ใช่ประวัติธุรกรรมที่เสร็จสิ้น แต่เป็นเพียงประวัติของ Order ที่รอดำเนินการเท่านั้น หากคุณได้เปิด Order ไว้ แต่ยังไม่ได้รับการดำเนินการ คุณสามารถดู Order ของคุณได้ใน Order Book

ประวัติธุรกรรม (Transaction History): แสดงประวัติแบบเรียลไทม์ของธุรกรรมที่เสร็จสิ้น ซึ่งคุณสามารถดูราคา ปริมาณ และเวลาที่ดำเนินการได้

โหมด Isolated Margin (Isolated Margin Mode): โหมดนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถถือ Position ได้ทั้ง 2 ทิศทาง (Long และ Short) โดยมีความเสี่ยงที่คำนวณแยกต่างหากจากกัน ระบบจะจัดสรร Margin ในจำนวนที่กำหนดไปให้กับแต่ละ Position หาก Margin ลงไปต่ำกว่าระดับ Maintenance Margin จะทำให้ Position ถูก Liquidate (บังคับขาย) และการขาดทุนสูงสุดที่เกิดขึ้นจะถูกจำกัดอยู่ที่จำนวน Margin ที่ได้จัดสรรให้กับ Position นั้นๆ คุณสามารถเพิ่มและลบ Margin สำหรับ Position ที่ต้องการได้ในโหมด Isolated Margin

โหมด Cross Margin (Cross Margin Mode): ในโหมดนี้ ทุก Position ภายในสินทรัพย์ที่ใช้ Margin เดียวกันจะมียอดคงเหลือ Margin เท่ากัน ในกรณีที่เกิด Liquidation (การบังคับขาย) นักเทรดอาจเสี่ยงต่อการสูญเสียยอดคงเหลือ Margin ทั้งหมดพร้อมกับ Position ใดๆ ภายใต้สินทรัพย์ที่ใช้ Margin ดังกล่าว กล่าวอีกนัยหนึ่งคือยอดคงเหลือที่ใช้ได้ทั้งหมดในบัญชีสามารถใช้เป็น Margin เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิด Liquidation (การบังคับขาย) กับ Position ได้

เลเวอเรจ (Leverage): การเลือกเลเวอเรจที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะเป็นดาบ 2 คมที่ช่วยขยายผลกำไร แต่ก็เพิ่มโอกาสในการขาดทุนด้วย เลเวอเรจยิ่งสูง ความเสี่ยงที่จะเกิด Liquidation (การบังคับขาย) ก็ยิ่งมาก นักเทรดควรเลือกเลเวอเรจที่เหมาะกับตัวเองที่สุด เช่น นักเทรดแบบเสี่ยงต่ำหรือมือใหม่อาจเลือกใช้เลเวอเรจที่ต่ำกว่า เช่น 5x หรือ 2x การตัดสินใจเลือกระดับเลเวอเรจควรพิจารณาจากระดับความเข้าใจที่ตัวนักเทรดเองมีต่อตลาดคริปโทเคอร์เรนซี ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และระดับความสบายใจ

Limit Order: Limit Order หมายถึง Order ที่มีการวางไว้ใน Order Book โดยมีขีดจำกัดราคาตามกำหนดซึ่งตั้งไว้โดยผู้ใช้ จะมีการดำเนินการ Order ก็ต่อเมื่อราคาตลาดมาถึงหรือสูงกว่าราคา Bid/Ask ณ ขณะนั้นเท่านั้น Limit Order ช่วยให้ผู้ใช้ซื้อได้ในราคาต่ำกว่าหรือขายได้ในราคาสูงกว่าราคาตลาด ณ ขณะนั้น ซึ่งจะต่างจาก Market Order ที่ดำเนินการทันที ณ ราคาตลาด ณ ขณะนั้น โดยจะมีการวาง Limit Order ไว้ใน Order Book และจะถูกทริกเกอร์เมื่อราคามาถึงแล้วเท่านั้น

BBO: ย่อมาจาก Best Bid Offer เป็น Limit Order ประเภทหนึ่ง BBO ช่วยให้นักเทรดตั้งราคา Limit Order ที่สอดคล้องกับราคาปัจจุบันของคิว 1, คิว 5, คู่ค้า 1 หรือคู่ค้า 5 ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจอำนวยความสะดวกให้ดำเนินการ Order ได้เร็วขึ้นและจับคู่ราคาได้ดีขึ้น เมื่อมีการวาง BBO Order ระบบจะปรับให้เป็นราคาที่ดีที่สุดที่มีอยู่ ณ เวลาที่วาง Order โดยอัตโนมัติ

Market Order: ระบบจะวาง Order ในราคาที่น่าจะได้รับการดำเนินการมากที่สุด หาก Order ไม่ได้รับการดำเนินการหรือได้รับการดำเนินการไม่เต็มจำนวน ระบบก็จะยังคงวาง Order ต่อไปในราคาล่าสุดที่น่าจะได้รับการดำเนินการมากที่สุด

สำหรับมือใหม่ ทั้ง Limit Order และ Market Order เป็นวิธีการวางรายการเทรดที่ใช้งานง่าย ความแตกต่างอยู่ที่วิธีการวาง Order ที่ผู้ใช้แต่ละรายชื่นชอบ การเทรด Spot บน Bitget ก็มีทั้งตัวเลือกแบบ Limit และ Market Order ให้เลือกใช้เช่นกัน

Post Only: ในโหมดนี้ Order จะไม่ได้รับการดำเนินการทันทีในตลาด เพื่อให้แน่ใจว่านักเทรดจะเป็น Maker เสมอ หาก Post Only Order ได้รับการดำเนินการทันทีโดย Order ที่มีอยู่ ระบบจะยกเลิกให้

Trailing TP/SL: คำสั่งพิเศษที่ช่วยให้ผู้ใช้วาง Order ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าได้เมื่อตลาดเคลื่อนไหวสวนทางหรือในทางเดียวกันกับการเทรดของตน ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจำกัดการขาดทุนและปกป้องผลกำไรของตนได้ในช่วงที่ตลาดผันผวน ทำงานโดยการวาง Order ล่วงหน้าที่ระดับเปอร์เซ็นต์ซึ่งกำหนดไว้ห่างจากราคาตลาด ทำให้ผู้ใช้สามารถล็อกกำไรได้หากราคาเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่คาดหวัง

เมื่อราคาตลาดขยับไปในทิศทางที่คาดหวัง Trailing TP/SL จะขยับตามไปด้วย พร้อมทั้งรักษาระยะห่างที่ตั้งไว้เป็นเปอร์เซ็นต์หรือจำนวนซึ่งกำหนดไว้ห่างจากราคาตลาด ทำให้ผู้ใช้สามารถรักษา Position ของตนและทำกำไรต่อไปได้เมื่อราคาเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่คาดหวัง อย่างไรก็ตาม หากราคาเคลื่อนไหวสวนทางเป็นระดับเปอร์เซ็นต์ที่กำหนดไว้ จะทำให้ Trailing TP/SL ทำการปิด Position ที่ราคาตลาด เป็นการช่วยจำกัดการขาดทุนและปกป้องผลกำไรโดยการปิด Position เมื่อราคาเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ไม่เป็นใจ

Trigger Order: ระบบจะวาง Order ประเภทนี้ในจำนวนและที่ราคาซึ่งกำหนดไว้ล่วงหน้าเมื่อราคาตลาดมาถึงราคาทริกเกอร์ ระบบจะไม่ระงับสินทรัพย์เอาไว้ก่อนที่จะมีการทริกเกอร์ Order โดยที่ Order อาจไม่ได้รับการดำเนินการเนื่องจากจะขึ้นอยู่กับราคาหรือระดับขั้นของเลเวอเรจที่กำหนดไว้ล่วงหน้า

โดยทั่วไป Trigger Order และ Trailing TP/SL Order ไม่เหมาะสำหรับนักเทรดที่เทรด Futures ครั้งแรก

เครื่องคำนวณ (Calculator): เครื่องคำนวณสามารถคำนวณ PNL ได้ รวมไปถึง Margin, Risk/Reward, Take Profit PNL, Take Profit ROI, Stop Loss PNL และ Stop Loss ROI นอกจากนี้ เครื่องคำนวณของ Bitget Futures ยังสามารถคำนวณราคาเป้าหมาย, ราคา Liquidation, ราคาเฉลี่ย และอื่นๆ ได้อีกมากมาย โปรดทราบว่าราคาหรือมูลค่าที่คำนวณโดยเครื่องคำนวณมีไว้เพื่อการอ้างอิงเท่านั้น และไม่รวมค่าธรรมเนียมธุรกรรมหรือค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจริง

คู่มือสำหรับมือใหม่ Bitget — ศัพท์การเทรด Futures ที่สำคัญและสถานการณ์ในการนำไปใช้งาน image 3

TP/SL: Take Profit (TP) Order จะเป็นการปิด Position เมื่อมีผลกำไร ในขณะที่ Stop Loss (SL) Order จะเป็นการจำกัดการขาดทุนใน Position ปัจจุบัน ทั้ง Take Profit และ Stop Loss Order สามารถวางได้อย่างง่ายดายผ่านฟังก์ชัน TP/SL

Good till Cancel (GTC): Limit Order ปกติที่ยังคงมีผลอยู่จนกว่าจะยกเลิก

Fill or Kill (FOK): หาก Order ไม่ได้ดำเนินการเต็มจำนวนในทันที จะถูกยกเลิกทั้งหมด

Immediately or Cancel (IOC): หากระบบไม่สามารถดำเนินการ Order ได้ในทันที จะทำให้ส่วนที่ยังไม่ได้ดำเนินการถูกยกเลิก

แนวคิดที่กล่าวถึงข้างต้นถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ใช้ในการทำความเข้าใจก่อนที่จะเปิด Position คำศัพท์สำคัญต่างๆ เช่น ราคา Mark (Mark Price), ราคาสุดท้าย (Last Price), Cross Margin, Isolated Margin, เลเวอเรจ (Leverage), Limit Order และ Market Order มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการวาง Futures Order และควรทำความเข้าใจให้ถี่ถ้วน ต่อไป เราจะไปดูกันที่การวาง Futures Order ซึ่งมีแนวคิดสำคัญบางประการที่ยังคงจำเป็นต้องเรียนรู้ต่อ

เมื่อถือ Position

การเปิด Position (Position Opening): หมายถึงการวาง Futures Order อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือการเปิด Position ไม่ได้หมายถึงการซื้อหรือขาย ผู้ใช้ยังคงต้องเลือกอยู่ว่าจะ “เปิด Long / Open Long” หรือ “เปิด Short / Open Short” เมื่อวางรายการเทรด หากผู้ใช้รู้สึก Bullish ในสินทรัพย์ Futures รายการใด ก็สามารถเลือก “เปิด Long / Open Long” ได้ ไม่เช่นนั้นให้เลือก “เปิด Short / Open Short

ค่าธรรมเนียมการเปิด / Opening Fee: ค่าธรรมเนียมธุรกรรมที่ระบบกันไว้เพื่อชำระค่าธรรมเนียมโดยประมาณที่จำเป็นในการเปิด Position

คู่มือสำหรับมือใหม่ Bitget — ศัพท์การเทรด Futures ที่สำคัญและสถานการณ์ในการนำไปใช้งาน image 4

Margin: Margin = มูลค่า Position ÷ เลเวอเรจ การทำความเข้าใจแนวคิดเรื่อง Margin เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการเทรด Futures ซึ่งครอบคลุมแนวคิดหลายประการที่แตกต่างกันไปตามช่วงเวลา บทความนี้จะสรุปแนวคิด Margin บางประเภทที่พบได้ทั่วไป

Maintenance Margin: Margin ขั้นต่ำที่จำเป็นในการถือ Position ต่อไป ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามเพดานความเสี่ยง (Risk Limit) ของผู้ใช้

อัตรา Maintenance Margin (Maintenance Margin Rate): จำนวน Margin ที่สอดคล้องกับระดับขั้นของขนาด Position โดยเมื่ออัตรา Margin ของ Position ลงไปต่ำกว่าอัตรา Maintenance Margin ระบบจะทริกเกอร์ Liquidation (การบังคับขาย) บางส่วนหรือทั้งหมด

Position Margin: Margin ขั้นต้น + ค่าธรรมเนียมธุรกรรมที่กำหนดไว้สำหรับการปิด Position

Margin ของ Order (Order Margin): ผลรวมของ Margin ทั้งหมดสำหรับ Order ที่แอคทีฟอยู่ซึ่งกำลังรอดำเนินการ

Margin ขั้นต้น (Initial Margin): Margin ที่กำหนดไว้เพื่อเปิด Position สำหรับการเทรด Margin

อัตราส่วน Margin (Margin Ratio): ตัววัดระดับความเสี่ยงของ Position ณ ขณะนั้นของผู้ใช้ เมื่อถึง 100% ระบบจะทริกเกอร์ Liquidation (การบังคับขาย) บางส่วนหรือทั้งหมด อัตราส่วน Margin = Maintenance Margin ของ Position ณ ขณะนั้น ÷ (Equity ในบัญชี - จำนวนที่ถูกระงับไว้สำหรับ Order ในโหมด Isolated Margin - Unrealized PNL ของ Isolated Margin Position - Isolated Margin สำหรับ Position)

Equity ในบัญชี (Account Equity): สินทรัพย์ทั้งหมดที่ผู้ใช้ถือครองอยู่ในบัญชี Futures ของตน Equity ในบัญชี = จำนวนที่ฝากเข้ามา + Realized PNL ทั้งหมด + Unrealized PNL ทั้งหมด (โบนัสการเทรดจะนับรวมอยู่ใน Equity ในบัญชี)

สินทรัพย์ที่ใช้ได้ (Available Funds): สินทรัพย์ที่ใช้ได้สำหรับการเปิด Position ซึ่งในโหมด Cross Margin จะรวม Unrealized PNL ของ Position ด้วย แต่ในโหมด Isolated Margin นั้นจะไม่รวม Unrealized PNL ของ Position สินทรัพย์ที่ใช้ได้ = Equity ในบัญชี - สินทรัพย์ที่ลงทุนไป - Unrealized PNL ในโหมด Isolated Margin

Realized PNL: ผลกำไรขาดทุนของ Position ที่ปิดไป ซึ่งรวมค่าธรรมเนียมธุรกรรมด้วย

ผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Investment: ROI): หมายถึงอัตราส่วนเปอร์เซ็นต์ระหว่างผลกำไรจากการลงทุนกับต้นทุนที่เกิดขึ้น เป็นตัวบ่งชี้ที่ใช้ในการวัดประสิทธิภาพและความสามารถในการทำกำไรจากการลงทุน

โบนัสการเทรด (Trading Bonus) : ผู้ใช้สามารถใช้โบนัสการเทรดเพื่อทำการเทรดภายในช่วงปริมาณหรือลงทุนในผลิตภัณฑ์บางอย่างได้ แต่ไม่สามารถถอนหรือโอนเข้าบัญชีอื่นได้ (โบนัสการเทรดจัดเป็นสินทรัพย์เสมือน)

Unrealized PNL: ผลกำไรขาดทุนโดยประมาณของ Position ตามราคาตลาด ณ ขณะนั้น แต่ไม่รวมค่าธรรมเนียมธุรกรรมและค่าธรรมเนียม Funding

Fund Leverage: เลเวอเรจของ Position ทั้งหมดที่ผู้ใช้ถือครอง

Margin ที่ใช้ไป (Used Margin): หมายถึง Margin ที่ล็อกไว้ของคู่เทรดทั้งหมดภายใต้โหมด Cross Margin + Margin ของ Position ทั้งหมดภายใต้โหมด Isolated Margin + ต้นทุนที่ถูกระงับไว้ทั้งหมดสำหรับการเปิด Position แม้ว่าคำอธิบายของ “Margin ที่ใช้ไป / Used Margin” จะค่อนข้างซับซ้อน แต่เราไม่แนะนำให้นักเทรดมือใหม่ใช้ทั้งโหมด Cross Margin และ Isolated Margin พร้อมกันเมื่อเพิ่งเริ่มเทรด Futures เพราะจะเป็นการดีกว่าที่จะทำอะไรๆ ให้เรียบง่ายในช่วงเริ่มต้น

Order ขั้นต่ำ (Minimum Orders): จำนวน Order ขั้นต่ำที่สามารถวางได้

คู่มือสำหรับมือใหม่ Bitget — ศัพท์การเทรด Futures ที่สำคัญและสถานการณ์ในการนำไปใช้งาน image 5

Position: Futures Order ทั้งหมดที่ถือไว้

Order ที่เปิดอยู่ (Open Orders): Order ที่เปิดอยู่ทั้งหมดที่ได้วางไป โปรดทราบว่า Order ไม่ได้รับการดำเนินการ

ราคา Position เฉลี่ย (Average Position Price): ราคาเฉลี่ยของ Position

รายละเอียด Order (Order Details): รายละเอียดธุรกรรมของทุก Order ที่ดำเนินการแล้วของคุณ ซึ่งรวมไปถึงราคาเฉลี่ย ปริมาณ และเวลาในการทำธุรกรรม

ราคา Liquidation โดยประมาณ (Estimated Liquidation Price): ราคาโดยประมาณที่เป็นไปได้ว่าจะเกิด Liquidation (การบังคับขาย) ซึ่งคำนวณตามอัตราส่วน Margin ของ Position แม้ว่าจะไม่ได้สะท้อนราคา Liquidation จริง แต่ผู้ใช้ก็ยังคงต้องคอยจับตาราคานี้อยู่

Position TP/SL Order: Order ที่จะใช้กับทั้ง Position (Position ที่มีอยู่และการเพิ่มหรือการปิดใดๆ ที่ตามมา) เมื่อราคาตลาดล่าสุดหรือราคา Mark ที่เหมาะสมมาถึงราคาทริกเกอร์ ระบบจะวาง Order ในขนาดที่กำหนดไว้ ณ ราคาที่ดีที่สุด โดย TP/SL Order นี้จะหมดอายุโดยอัตโนมัติเมื่อ Position ถูกปิดโดยสมบูรณ์

MMR SL: เป็นฟีเจอร์ Stop Loss ตามอัตราส่วน Margin (MMR) ซึ่งพัฒนาโดย Bitget เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิด Liquidation (การบังคับขาย) สำหรับการเทรด Futures ความเสี่ยงของ Position จะวัดตาม MMR โดยที่ MMR ซึ่งสูงกว่าแสดงถึงความเสี่ยงที่สูงกว่า Liquidation (การบังคับขาย) จะเกิดขึ้นเมื่อ MMR ถึง 100% ด้วยการใช้ค่า MMR เพื่อกำหนด Stop Loss เราสามารถลดความเสี่ยงใน Liquidation (การบังคับขาย) ได้

ด้วย MMR SL คุณสามารถกำหนดเกณฑ์ได้ตั้งแต่ 70% ถึง 90% หากคุณกำหนดเกณฑ์ไว้ที่ 85% สำหรับ Long Position ของ BTCUSDT ระบบจะปิด Long Position ของ BTCUSDT ทั้งหมดเมื่อ MMR เท่ากับหรือมากกว่า 85%

ตามที่กล่าวไว้ในหัวข้อนี้ การทำความเข้าใจแนวคิดเรื่อง Margin เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง นอกจากนี้ ฟีเจอร์ Take Profit และ Stop Loss ต่างๆ ที่กล่าวถึงสามารถช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจในคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ Futures ได้ดียิ่งขึ้น

คำศัพท์สำคัญในการปิด Position และแนวคิดที่สำคัญอื่นๆ

ปิด Position (Close Position): เกี่ยวข้องกับการซื้อหรือขาย Futures ในประเภท ปริมาณ และเดือนที่ส่งมอบเดียวกันในทิศทางตรงกันข้ามกับ Futures ที่ถืออยู่ การทำเช่นนี้ก็เพื่อชำระราคารายการเทรด Futures อีกทั้งยังเข้าใจได้ว่าเป็นการปิด Position ผ่านการป้องกันความเสี่ยง (Hedging) ในทิศทางตรงกันข้าม การปิด Position ในการเทรด Futures ก็เหมือนกับการขาย Position ในการเทรด Spot

ค่าธรรมเนียมธุรกรรม (Transaction Fee): หมายถึงค่าธรรมเนียม ที่ได้รับจากหรือชำระให้กับนักเทรดเมื่อดำเนินการเทรดบนแพลตฟอร์ม

PNL สุทธิ (Net PNL): ผลกำไรขาดทุนขั้นสุดท้ายหลังจากหักค่าธรรมเนียมทั้งหมดแล้ว

Deleveraging โดยอัตโนมัติ (Auto-Deleveraging): เรียกโดยย่อว่า ADL หมายถึงกลไกสำหรับ Liquidation (การบังคับขาย) ของ Position ของคู่สัญญาเพื่อควบคุมความเสี่ยงโดยรวมเมื่อตลาดมีสภาวะที่รุนแรงหรือเกิดสถานการณ์เหตุสุดวิสัยที่นำไปสู่ประมาณการความเสี่ยงที่ไม่เพียงพอหรือมีประมาณการความเสี่ยงที่ลดลงอย่างรวดเร็ว

Margin Call อัตโนมัติในโหมด Isolated Margin (Automatic Margin Call in Isolated Margin Mode): ช่วยให้ผู้ใช้เลี่ยงการเกิด Liquidation (การบังคับขาย) ได้อย่างทันท่วงทีด้วยการเติม Margin ที่จำเป็นสำหรับ Position ในโหมด Isolated โดยเมื่อเปิดใช้งานแล้ว ระบบจะโอน Margin ตามที่จำเป็นต้องมีเพื่อหลีกเลี่ยง Liquidation (การบังคับขาย) เข้าไปยัง Position จาก Margin คงเหลือของคุณ

สมมติว่าผู้ใช้มียอดคงเหลือที่ใช้ได้อยู่ 600 USDT และราคา BTC ในขณะนี้อยู่ที่ 27,249.5 USDT ผู้ใช้เปิด Long Position ที่ 0.1 BTCUSDT โดยใช้เลเวอเรจ 10X ซึ่งกำหนดให้มี Margin ขั้นต้นที่ 272.495 USDT ระบบคำนวณราคา Liquidation ไว้ที่ 24,637.9 USDT และยอดคงเหลือที่ใช้ได้อยู่ที่ 327.505 USDT

เมื่อราคา Mark ลดลงต่ำกว่าราคา Liquidation ที่ 24,637.9 USDT ระบบจะทริกเกอร์ Margin Call อัตโนมัติเพื่อป้องกันไม่ให้ Position ถูก Liquidate (บังคับขาย) เป็นผลให้มีการเติม 272.495 USDT เข้าไปใน Margin ของ Position และทำให้ยอดคงเหลือที่ใช้ได้อยู่ที่ 55.01 USDT สิ่งที่ตามมาคือราคา Liquidation ใหม่จะอยู่ที่ 21,900.4 USDT และ Margin ขั้นต้นสำหรับ Position นี้จะอยู่ที่ 544.99 USDT

ในกรณีที่ราคาของ BTCUSDT ยังคงลดลงต่อไปและปรับตัวต่ำกว่าราคา Liquidation ที่ 21,900.4 USDT ระบบก็จะทริกเกอร์ Margin Call อัตโนมัติอีกครั้ง ในครั้งนี้ ยอดคงเหลือที่ใช้ได้เหลือเพียง 55.01 USDT เท่านั้น ซึ่งก็จะถูกเพิ่มไปยัง Margin ของ Position และทำให้ราคา Liquidation ขยับไปอยู่ที่ 21,347.7 USDT

หากยอดคงเหลือในบัญชีหมดแล้ว ระบบก็จะ Liquidate (บังคับขาย) Position ไปในที่สุดเมื่อราคาลดลงต่ำกว่า 21,347.7 USDT เนื่องจากไม่สามารถทริกเกอร์ Margin Call อัตโนมัติได้

ปิดด่วน (Flash Close): ระบบจะวาง Order ในราคาที่น่าจะได้รับการดำเนินการมากที่สุด หาก Order ไม่ได้รับการดำเนินการหรือได้รับการดำเนินการไม่เต็มจำนวน ระบบก็จะยังคงวาง Order ต่อไปในราคาล่าสุดที่น่าจะได้รับการดำเนินการมากที่สุด

Margin ความเสี่ยง (Risk Margin): เนื่องจากตลาดคริปโทเคอร์เรนซีมีความผันผวนสูงและไม่สามารถติดตามการขาดทุนได้แบบแม่นยำในกรณีที่เกิด Liquidation (การบังคับขาย) Bitget จึงสร้างระบบ Margin ความเสี่ยง ขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิด Liquidation (การบังคับขาย) หลังจากที่มีการทริกเกอร์ Liquidation (การบังคับขาย) และดำเนินการเสร็จสิ้น ระบบก็จะฝากสินทรัพย์ที่เหลืออยู่ในบัญชีเข้าใน Margin ความเสี่ยง หากยอดคงเหลือในบัญชีติดลบ ระบบจะหักยอดที่ขาดไปจาก Margin ความเสี่ยง

หมายเหตุ: ราคา Order หลังจากมีการทริกเกอร์ Liquidation (การบังคับขาย) นั้นจะเป็นไปตามความผันผวนและความลึกของตลาด เป็นผลให้สินทรัพย์เพื่อรองรับความเสี่ยง (Risk Fund) ขั้นสุดท้ายอาจไม่สอดคล้องอย่างสมบูรณ์กับราคาที่ไปทริกเกอร์ Liquidation (การบังคับขาย)

บทสรุป

ถึงตอนนี้ คุณก็ได้ทราบแล้วว่าการเข้าสู่การเทรด Futures โดยปราศจากความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงคำศัพท์เหล่านี้อาจทำให้เสียหายหนักได้และไม่ควรทำ การเทรด Futures มีความซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งสำหรับนักเทรดที่จะต้องเข้าใจทุกแง่มุมของกิจกรรมการเทรดของตน บทความนี้น่าจะช่วยให้คุณได้มีข้อมูลเชิงลึกยิ่งขึ้นเกี่ยวกับวิธีการเทรดและหวังว่าจะช่วยให้คุณตัดสินใจเทรดได้ง่ายขึ้น

อย่างไรก็ตาม ต้องเทรดอย่างมีสติเสมอและคอยพัฒนากลยุทธ์ที่เหมาะกับความต้องการเฉพาะตัวของคุณ คุณไม่จำเป็นต้องเรียนรู้จากความล้มเหลวเสมอไป เพราะการเตรียมการเชิงรุกและการมองการณ์ไกลเชิงกลยุทธ์นั้นเป็นจุดเด่นของการเทรดที่ชาญฉลาด